กองทุนเงินทดแทน กับ กองทุนประกันสังคม ต่างกันยังไง?

กองทุนประกันสังคม 

ส่วนใหญ่ทุกคนจะรู้จักและคุ้นเคยกับกองทุนประกันสังคมมากกว่า เพราะเป็นกองทุนที่ผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาลเป็นคนจ่ายเงินสมทบ โดยกองทุนประกันสังคมจะให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนใน  7 กรณี อันไม่เนื่องจากการทำงาน

• เจ็บป่วย

• คลอดบุตร

• ทุพพลภาพ

• เสียชีวิต

• สงเคราะห์บุตร

• ชราภาพ

• ว่างงาน

ตัวอย่างเช่น พนักงานบริษัทเกิดอุบัติเหตุจักรยานล้มจนขาหัก ก็สามารถใช้บัตรประชาชนยื่นขอใช้สิทธิประสังคมในการเข้ารักษากับโรงพยาบาลที่เลือกไว้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใต้เงื่อนไขของประกันสังคม 

สรุปแล้วความแตกต่างระหว่างกองทุนเงินทดแทน กับ กองทุนประกันสังคม มีอยู่ 2 ส่วนหลัก คือ ผู้ที่จ่ายเงินสมทบ กับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองนั่นเอง

กองทุนเงินทดแทน

กองทุนเงินทดแทน เป็นกองทุนที่นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบเป็นรายปีให้กับสำนักงานประกันสังคม ซึ่งนายจ้างแต่ละบริษัทจะจ่ายเงินสมทบไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของธุรกิจ ซึ่งกองทุนเงินทดแทนจะใช้ในกรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต จากการทำงานให้นายจ้างเท่านั้น! 

ตัวอย่างเช่น พนักงานเกิดอุบัติเหตุตกจากที่สูงขณะกำลังจัดเรียงสินค้าให้กับนายจ้างจนขาหัก ในกรณีนี้ทางกองทุนเงินทดแทนจะเป็นฝ่ายจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยให้กับพนักงาน  

เข้าใจง่ายๆ คือ กองทุนเงินทดแทนเป็นส่วนที่นายจ้างจ่ายเงินสมทบและให้ความคุ้มครองเฉพาะจากการทำงานเท่านั้น แต่ก็ไม่ใช่ว่านายจ้างทุกกิจการจะต้องจ่ายเงินสมทบให้กองทุนเงินทดแทนเพราะกิจการที่ได้รับการยกเว้น ดังนี้ 

• ราชการส่วนกลาง, ราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่นเฉพาะข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ

• รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

• รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ สำหรับลูกจ้างซึ่งมิใช่เป็นการจ้างงานในประเทศ

• ลูกจ้างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง